ผู้จัดการ - ผุ้จัดการอาวุโส ส่วนขายทรัพย์ (กฎหมาย)
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหน้าที่หลักและลักษณะงาน
- บันทึกข้อมูล, รวบรวมเอกสาร, จัดทำแฟ้มอกสารทรัพย์สินรอการขายรายตัว พร้อมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สิน
- ดำเนินการจัดส่งทบทวนประเมินราคาทรัพย์สินรอการขายตามระเบียบของธนาคาร โดยกำหนดการทบทวนราคาประเมินไม่เกิน 1 ปี
- ประสานงานส่วนสนับสนุนประกันภัยตะกาฟุล เพื่อจัดทำประกันภัยทรัพย์สินรอการขายเฉพาะรายการที่มีการสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท
- ประสานงานกับฝ่ายกฎหมายเมื่อรับต้นฉบับเอกสารสิทธิ์จากสำนักงานบังคับคดีนำส่งโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหากรณีไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพย์สินรอการขายของธนาคารได้
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการชำระค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ค่าส่วนกลางและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
- ดำเนินการโฆษณาประชาสัมพันธ์และทำการตลาดเพื่อจำหน่ายทรัพย์สินรอการขาย
- สำรวจและปรับปรุงทรัพย์สินรอการขายของธนาคาร
- เจรจาพร้อมทั้งต่อรองราคากับผ้สนใจซื้อทรัพย์สิน
- มีประสบการณ์ทางด้านการเงิน และบัญชี ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องปฎิบัติงานในระดับผู้บริหารงานและด้านทรัพย์ NPA อย่างน้อย 3-5 ปี
- จบการศึกษาปริญญาตรี / ปริญญาโท การบัญชีและการเงิน, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์บริหารจัดการ
- มีความรู้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีประสบการณ์ในงานด้านปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และปฎิบัติงานในระดับบริหารงาน / มีความรู้ด้านอสังหาริมทรัพย์
- มีทักษะการเจรจาต่อรอง การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเฉพาะได้เป็นอย่างดี
- มีทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ด้านภาษา Computer และ Microsoft Office
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ค่าช่วยเหลือบุตร
- ค่าทุนการศึกษา
- ค่ารักษาพยาบาลคู่สมรสและบุตร
- ค่าศึกษาบุตร
- ทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- สินเชื่อสวัสดิการพนักงาน
- เครื่องแบบพนักงาน, ชุดยูนิฟอร์ม
- โบนัสตามผลงาน/ผลประกอบการ

“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย” จัดตั้งตามพระราชบัญญัติธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ธนาคารตระหนักเสมอว่าบริการตามแนวทางอิสลาม สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนทั่วไปได้โดยไม่จำกัดให้อยู่เพียงในระบบธนาคารกระแสหลัก ธนาคารจึงมุ่งเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ปรับปรุงภาพลักษณ์ให้ทันสมัย และให้บริการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ภายใต้หลักคุณธรรมที่ใส่ใจ ห่วงใยทุกกลุ่มสังคม เคร่งครัดในหลักศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในสัญญาที่ตกลง และบริหารงานด้วยความโปร่งใส
ด้วยเหตุนี้ธนาคารอิสลาม จึงเป็นธนาคารที่แตกต่างและทางเลือกใหม่ให้กับทุกคน ไม่จำกัดเชื้อชาติและศาสนา และในเดือนตุลาคม 2550 กระทรวงการคลังได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทำให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจุบันธนาคารมี 96 สาขา ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ